เรื่อง คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ คือ
คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของ
ไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน
และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ
ดังต่อไปนี้
๑.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
๒.พระบรมวงศานุวงศ์
๓.พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
๔.ขุนนาง ข้าราชการ
๕.สุภาพชน
คำราชาศัพท์ที่ควรทราบสามารถแบ่งตามหมวดหมู่ได้ดังนี้
๑.ประเภทคำนามราชาศัพท์
๑.๑คำนามราชาศัพท์หมวดร่างกาย
คำสามัญ
|
คำราชาศัพท์
|
คำสามัญ
|
คำราชาศัพท์
|
หัว(พระมหากษัตริย์)
ผม(พระมหากษัตริย์)
หน้าผาก
ขนระหว่างคิ้ว
จมูก
ปาก
ลิ้น
หู
ดวงหน้า
บ่า,ไหล่
ปลายแขน
นิ้วมือ
ท้อง
ขา,ตัก
เท้า
ปอด
|
พระเจ้า
เส้นพระเจ้า
พระนลาฏ
พระอุณาโลม พระนาสา
พระโอษฐ์
พระชิวหา
พระกรรณ
พระพักตร์
พระอังสา
พระกร
พระองคุลี
พระอุทร
พระเพลา
พระบาท
พระปัปผาสะ
|
หัว
ผม
คิ้ว
ดวงตา
แก้ม
ฟัน
คาง
คอ
หนวด
ต้นแขน
มือ
เล็บ
เอว
แข้ง
ขน
กระดูก
|
พระเศียร
พระเกศา,พระเกศ,พระศก
พระขนง,พระภมู
พระเนตร
พระปราง
พระทนต์
พระหนุ
พระศอ
พระมัสสุ
พระพาหา,พระพาหุ
พระหัตถ์
พระนขา
พระกฤษฎี,บั้นพระเอว
พระชงฆ์
พระโลมา
พระอัฐิ
|
๑.๒ คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ
คำสามัญ
|
คำราชาศัพท์
|
คำสามัญ
|
คำราชาศัพท์
|
ปู่,ตา
ลุง,อา (ทางพ่อ)
ลุง,น้า (ทางแม่)
พ่อ
พี่ชาย
น้องชาย ลูกชาย
หลาน
ลูกเขย
|
พระอัยกา
พระปิตุลา
พระมาตุลา
พระชนก
พระเชษฐา
พระอนุชา
พระโอรส
พระนัดดา
พระชามาดา
|
ย่า,ยาย
ป้า,อา (ทางพ่อ)
ป้า,น้า (ทางแม่)
แม่
พี่สาว
น้องสาว
ลูกสาว
เหลน
ลูกสะใภ้
|
พระอัยยิกา,พระอัยกี
พระปิตุจฉา
พระมาตุจฉา
พระบรมราชชนนี,
พระชนนีพระมารดา พระเชษฐภคินี
พระขนิษฐภคินี
พระราชธิดา,พระธิดา
พระปนัดดา
พระสุณิสา
|
๑.๓ คำราชาศัพท์หมวดสิ่งของเครื่องใช้
คำสามัญ
|
คำราชาศัพท์
|
คำสามัญ
|
คำราชาศัพท์
|
คำสามัญ
|
คำราชาศัพท์
|
ยา
กระจกส่อง
ตุ้มหู
ประตู
ฟูก
ผ้าห่มนอน
น้ำ
ช้อน
|
พระโอสถ
พระฉาย
พระกุณฑล
พระทวาร
พระบรรจถรณ์
ผ้าคลุมบรรทม
พระสุธารส
ฉลองพระหัตถ์ช้อน
|
แว่นตา
น้ำหอม
แหวน
หน้าต่าง
เตียงนอน
ผ้านุ่ง
เหล้า
ข้าว
|
ฉลองพระเนตร
พระสุคนธ์
พระธำมรงค์
พระบัญชร
พระแท่นบรรทม
พระภูษาทรง
น้ำจัณฑ์
พระกระยาเสวย
|
หวี
หมวก
ร่ม
อาวุธ
มุ้ง
ผ้าเช็ดหน้า
ของกิน
หมาก
|
พระสาง
พระมาลา
พระกลด
พระแสง
พระวิสูตร
ผ้าซับพระพักตร์
เครื่องเสวย
พระศรี
|
๒.
ประเภทคำสรรพนามราชาศัพท์
สรรพนามราชาศัพท์บุรุษที่ ๑
สรรพนาม
|
ผู้พูด
|
ผู้ฟัง
|
ข้าพระพุทธเจ้า
เกล้ากระหม่อมฉัน
เกล้ากระหม่อม
เกล้ากระผม
|
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป(หญิง)
บุคคลทั่วไป(ชาย)
บุคคลทั่วไป
|
พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง
พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง
เจ้านายชั้นรองลงมา
ขุนนางชั้นสูง
|
สรรพนามราชาศัพท์บุรุษที่ ๒
สรรพนาม
|
ผู้พูด
|
ผู้ฟัง
|
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ใต้ฝ่าละอองพระบาท
ใต้ฝ่าพระบาท
ฝ่าพระบาท
|
เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป
เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป
เจ้านายหรือบุคคลทั่วไป
เจ้านายที่เสมอกันหรือผู้น้อย
|
พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินีนาถ
พระบรมโอรสาธิราช,พระบรมราชกุมารี
เจ้านายชั้นสูง
เจ้านายชั้นหม่อมเจ้าถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอ
|
สรรพนามราชาศัพท์บุรุษที่ ๓
สรรพนาม
|
ผู้พูด
|
ใช้กับ
|
พระองค์
ท่าน
|
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
|
พระมหากษัตริย์,เจ้านายชั้นสูง
เจ้านาย
|
คำขานรับ
คำ
|
ผู้ใช้
|
ใช้กับ
|
พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม
เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อมหรือเพคะ
พระพุทธเจ้าข้าขอรับ,พระพุทธเจ้าข้า
เพคะกระหม่อม
|
ชาย
หญิง
ชาย
หญิง
|
พระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์
เจ้านายชั้นสูง
เจ้านายชั้นสูง
|
๓.
คำกริยาราชาศัพท์ เป็นคำแสดงอาการ แบ่งเป็น
๔ ชนิด
ก.
กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง
เช่น ตรัส (พูด) เสด็จ (ไป) กริ้ว (โกรธ) ประชวร (ป่วย) ประสูติ (เกิด) ทูล (บอก) เสวย (กิน) ถวาย (ให้) บรรทม (นอน) ประทับ (อยู่) โปรด (รัก,ชอบ) ประพาส (ไปเที่ยว)
เช่น ตรัส (พูด) เสด็จ (ไป) กริ้ว (โกรธ) ประชวร (ป่วย) ประสูติ (เกิด) ทูล (บอก) เสวย (กิน) ถวาย (ให้) บรรทม (นอน) ประทับ (อยู่) โปรด (รัก,ชอบ) ประพาส (ไปเที่ยว)
ข. ใช้ทรงนำหน้ากริยาธรรมดา เช่น ทรงฟัง
ทรงยืน ทรงยินดี
ค.
ห้ามใช้ทรงนำหน้ากริยาที่มีนามราชาศัพท์ เช่น มีพระราชดำริ ห้ามใช้ ทรงมีพระราชดำริ
มีพระบรมราชโองการ ห้ามใช้ ทรงมีพระบรมราชโองการ
มีพระบรมราชโองการ ห้ามใช้ ทรงมีพระบรมราชโองการ
ยกเว้นคำเหล่านี้ ทรงผนวช ทรงพระราชนิพนธ์
ง. ใช้เสด็จนำหน้ากริยาบางคำ
เช่น เสด็จกลับ เสด็จขึ้น
เสด็จลง
จ. คำกริยาที่ประสมขึ้นใช้เป็นราชาศัพท์ตามลำดับชั้นบุคคล
ดังนี้
กริยา
|
ราชาศัพท์
|
ชั้นบุคคล
|
เกิด
ตาย
|
พระราชสมภพ
ประสูติ
สวรรคต
ทิวงคต
สิ้นพระชนม์
ถึงชีพิตักษัย,สิ้นชีพิตักษัย
ถึงแก่อสัญกรรม
ถึงแก่อนิจกรรม
|
พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินี
เจ้านาย
พระมหากษัตริย์,พระบรมราชินี
พระยุพราชหรือเทียบเท่า
พระองค์เจ้าหรือเจ้านายชั้นสูง
หม่อมเจ้า
นายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรี
|
การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุ
๑. คำนาม
คำสามัญ
|
ราชาศัพท์
|
คำสามัญ
|
ราชาศัพท์
|
ที่นั่ง
เรือนที่พักในวัด
ห้องสุขา
คำแจ้งถวายจตุปัจจัย
สถานที่พระภิกษุใช้อาศัย
ยารักษาโรค
รูป
เครื่องใช้สอยของพระภิกษุ ๘ อย่าง(สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกน ประคดเอว เข็ม และผ้ากรองน้ำ)
|
อาสนะ
กุฏิ
ถาน,เวจกุฎี
ใบปวารณา
เสนาสนะ
คิลานเภสัช
ลักษณนามสำหรับพระภิกษุ
อัฐบริขาร
|
จดหมาย
ห้องอาบน้ำ
อาหาร
อาหารถวายพระด้วยสลาก
เครื่องนุ่งห่ม
คนรู้จัก
องค์
บิดามารดา
|
ลิขิต
ห้องสรงน้ำ
ภัตตาหาร
สลากภัต
ไตรจีวร
อุบาสก,อุบาสิกา
ลักษณนามสำหรับพระพุทธรูป
โยม
|
๒. คำกริยา
คำสามัญ
|
คำราชาศัพท์
|
คำสามัญ
|
คำราชาศัพท์
|
เชิญไป
กิน
โกนผม
รับเชิญ
สวดมนต์
กินอาหารเช้า
ตาย
ปฏิบัติอาจารย์
ไหว้พระสวดมนต์เช้า
บวชเป็นสามเณร
โกนผม
แจ้งความผิด
เชิญ
ถวายอาหารพระ
อาบน้ำ
แต่งตัว
|
นิมนต์
ฉัน
ปลงผม
รับนิมนต์
เจริญพระพุทธมนต์
ฉันจังหัน
มรณภาพ,ถึงแก่กรรม
ถือนิสัย
ทำวัตรเช้า
บรรพชา
ปลงผม
อาบัติ
อาราธนา
ประเคน
สรงน้ำ
ครองผ้า,ห่มจีวร
|
รับเชิญ
ป่วย
นอน
อยู่ประจำวัด
มอบให้
กินอาหารเพล
กิน
กราบ,ไหว้
ไหว้พระสวดมนต์เย็น
บวชเป็นพระภิกษุ
โกนหนวด
สึก
ซักผ้า
ยกของให้พระด้วยมือ
ป่วย
ยินดีด้วย
|
รับนิมนต์
อาพาธ
จำวัด
จำพรรษา
ถวาย
ฉันเพล
ฉัน
นมัสการ
ทำวัตรเย็น
อุปสมบท
ปลงหนวด
ลาสิกขา
สุผ้า
ประเคน
อาพาธ
อนุโมทนา
|
๓.
สรรพนาม –สรรพนามบุรุษที่ ๑ สำหรับผู้พูดเป็นพระภิกษุ
คำ
|
วิธีใช้
|
อาตมา
อาตมาภาพ
เกล้ากระผม
ผม,กระผม
|
ใช้กับบุคลทั่วไป
ใช้กับพระราชวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป
ใช้กับพระภิกษุที่เป็นพระอุปัชฌาย์หรือพระภิกษุที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า
ใช้กับพระภิกษุที่เสมอกัน
|
-สรรพนามบุรุษที่
๑ สำหรับผู้พูดที่เป็นบุคคลทั่วไป
คำ
|
วิธีใช้
|
เกล้ากระหม่อม(สำหรับชาย)
เกล้ากระหม่อมฉัน(สำหรับหญิง)
กระผม,
ดิฉัน
|
ใช้กับพระสังฆราช
ใช้กับพระสังฆราช
ใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ,พระราชาคณะ
|
-สรรพนามบุรุษที่ ๒ สำหรับผู้พูดเป็นพระภิกษุ
คำ
|
วิธีใช้
|
มหาบพิตร
บพิตร
คุณโยม
โยม
คุณ,เธอ
ประสก(ย่อมาจากอุบาสก)
สีกา
|
ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน
ใช้กับพระราชวงศ์
ใช้กับญาติผู้ใหญ่, ผู้อาวุโส
ใช้กับบุคคลที่มีอาวุโสมากกว่า
ใช้กับบุคคลทั่วไป
ใช้กับชายที่อายุน้อยกว่า
ใช้กับหญิงที่อายุน้อยกว่า
|
-สรรพนามบุรุษที่
๒ สำหรับผู้พูดเป็นบุคคลทั่วไป
คำ
|
วิธีใช้
|
ฝ่าพระบาท
พระคุณเจ้า,
ท่านเจ้าคุณ
พระคุณท่าน,
เจ้าคุณ
ท่าน
คุณ
|
ใช้กับสมเด็จพระสังฆราช
ใช้กับสมเด็จพระราชาคณะ
ใช้กับพระราชาคณะชั้นรองลงมา
ใช้กับพระภิกษุทั่วไป
พระภิกษุใช้กับพระภิกษุทั่วไป
|
-คำขานรับสำหรับผู้พูดเป็นพระภิกษุ
คำ
|
วิธีใช้
|
บพิตรพระราชสมภาร
ขอถวายพระพร
เจริญพร
ครับ,
ขอรับ
|
ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน
ใช้กับพระราชวงศ์
ใช้กับฆราวาส
ใช้กับพระภิกษุด้วยกัน
|
-คำขานรับสำหรับผู้พูดเป็นฆราวาส
คำ
|
วิธีใช้
|
นมัสการ
ขอรับ,
ครับผม (ชาย)
เจ้าข้า,
เจ้าค่ะ (หญิง)
|
ใช้กับพระภิกษุทั่วไป
ใช้กับพระภิกษุทั่วไป
ใช้กับพระภิกษุทั่วไป
|
คำสุภาพ
คำสุภาพ คือ คำที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไป เพื่อความเหมาะสมกับสถานภาพเหตุการณ์และโอกาส
คำสามัญ
|
คำสุภาพ
|
หมู
|
สุกร
|
หมา
|
สุนัข
|
แมว
|
วิฬาร์
|
วัว
|
โค
|
ควาย
|
กระบือ
|
ลิง
|
วานร
|
ขี้ควาย
|
มูลกระบือ
|
ช้างสีดอ
|
ช้างนรการ
|
ช้างแม่แปรก
|
ช้างแม่หนัก
|
อีเก้ง
|
นางเก้ง
|
อีเห็น
|
นางเห็น
|
เต่า
|
จิตรจุล
|
ปลิง
|
ชัลลุกา
|
ปลาช่อน
|
ปลาหาง
|
ปลาสลิด
|
ปลาใบไม้
|
ลูกแตงโม
|
ผลอุลิด
|
กล้วยไข่
|
กล้วยเปลือกบาง
|
กล้วยกุ
|
กล้วยสั้น
|
หัวปลี
|
ปลีกล้วย
|
ฟักทอง
|
ฟักเหลือง
|
ผักปอด
|
ผักปัปผาสะ
|
ผักตบ
|
ผักสามหาว
|
ผักบุ้ง
|
ผักทอดยอด
|
ผักกระเฉด
|
ผักรู้นอน
|
ผักปลาบ
|
ผักไห่
|
ลูกตะลิงปลิง
|
ผักมูลละมั่ง
|
มะเขือกระหำแพะ
|
มะเขือเผา
|
ถั่วงอก
|
ถั่วเพาะ
|
ดอกขี้เหล็ก
|
ดอกเหล็ก
|
เห็ดโคน
|
เห็ดปลวก
|
ขนมใส่ไส้
|
ขนมสอดไส้
|
ขนมขี้หนู
|
ขนมทราย
|
ต้นพุงดอ
|
ต้นหนามรอบข้อ
|
ต้นทองหลาง
|
ต้นปาริชาต
|
ต้นตำแย
|
ต้นอเนกคุณ
|
เถาหัวลิง
|
เถาศีรษะวานร
|
เถาตูดหมูตูดหมา
|
เถากระพังโหม
|
เถาหมามุ้ย
|
เถามุ้ย
|
ลูกขี้กา
|
ผลมูลกา
|
ไข่
|
ฟองไข่
|
ดอกสลิด
|
ดอกขจร
|
ดอกผักตบ
|
ดอกผักสามหาว
|
ดอกผักบุ้ง
|
ดอกผักทอดยอด
|
ใส่ยุ้ง
|
ขึ้นยุ้ง
|
ใส่ร้าน
|
เข้าร้าน
|
ใส่กุญแจ
|
ลั่นกุญแจ
|
ใส่กระดุม
|
กลัดกระดุม
|
ปลาไหล
|
ปลายาว
|
ปลาร้า
|
ปลามัจฉะ
|
ปลาลิ้นหมา
|
ปลาลิ้นสุนัข
|
หอยอีรม
|
หอยนางลม
|
อีเลิ้ง
|
นางเลิ้ง
|
บางอีร้า
|
บางนางร้า
|
ผักอีริ้น
|
ผักนางริ้น
|
ลูกอีนูน
|
ผลนางนูน
|
ขี้ผึ้ง
|
สีผึ้ง
|
หิน
|
ศิลา
|
บางชีหน
|
บางชีโพ้น
|
ตากแดด
|
ผึ่งแดด
|
กะปิ
|
เยื่อเคย
|
สากตำน้ำพริก
|
ไม้ตีพริก
|
ลูกไม้
|
ผลไม้
|
ดอกซ่อนชู้
|
ดอกซ่อนกลิ่น
|
ดอกยี่หุบ
|
ดอกมณฑาขาว
|
ดอกนมแมว
|
ดอกถันวิฬาร์
|
ดอกลั่นทม
|
ดอกลีลาวดี
|
ขี้กลาก
|
โรคกลาก
|
ขี้เกลื้อน
|
โรคเกลื้อน
|
ขี้เรื้อน
|
โรคเรื้อน
|
ขี้สัตว์
|
มูล
|
สัตว์ขี้
|
สัตว์ถ่ายมูล
|
ขี้ดิน
|
มูลดิน
|
ไส้เดือน
|
รากดิน
|
สี่หน
|
สี่ครั้ง
|
ที่ห้า
|
ครบห้า
|
ที่หก
|
ครบหก
|
เจ็ดอย่าง
|
เจ็ดประการ
|
สองบาท
|
กึ่งตำลึง
|
เจ็ดโยชน์
|
สองพันแปดร้อยเส้น
|
แปดตัว
|
สี่คู่
|
หัวมนุษย์
|
ศีรษะ
|
หัวสัตว์
|
หัว
|
ตีน
|
เท้า
|
คนออกลูก
|
คลอดบุตร
|
สัตว์ออกลูก
|
ตกลูก
|
สัตว์ใหญ่ตาย
|
ล้ม
|
สัตว์เล็กตาย
|
ตาย
|
ใส่ตรวน
|
จองจำ
|
ใส่คลัง
|
เข้าคลัง
|
ใส่หมวก
|
สวมหมวก
|
ใส่สร้อย
|
ผูกสร้อย
|
ใส่หม้อ
|
กรอกหม้อ
|
เอาน้ำใส่ตุ่ม
|
เอาน้ำขังตุ่ม
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น